การสืบสวนในครั้งก่อน ๆ ของ เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์

SEC และองค์กรของรัฐอื่น ๆ ได้สืบสวนบริษัท Madoff Securities LLC อย่างน้อย 8 ครั้งในช่วงระยะเวลา 16 ปี[59]

บริษัท Avellino and Bienes

ในปี 2535 SEC ตรวจสอบบริษัทที่ส่งทุนต่อให้บริษัทของแมดอฟฟ์ คือ Avellino and Bienesที่ผู้บริหารหลักเคยทำงานเป็นนักบัญชีกับบริษัทพ่อตาของแมดอฟฟ์และต่อมาจึงได้กลายเป็นหุ้นส่วนร่วมของบริษัทพ่อตาและเริ่มตั้งแต่ปี 2505 บริษัทจึงเริ่มแถลงการณ์กับลูกค้าว่าบริษัทได้ลงทุนทรัพย์ทั้งหมดของลูกค้ากับคนลึกลับที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแม้จะเป็นผู้มักให้เกิดความขัดแย้งในวอลล์สตรีทแต่จนกระทั่งถึงเหตุการณ์นี้ ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะผู้บริหารหลักทรัพย์มือหนึ่ง ซึ่งก็คือแมดอฟฟ์[18]และเมื่อพ่อตาของแมดอฟฟ์เกษียณในปี 2517 บริษัทก็ยังลงทุนทรัพย์ทั้งหมดต่อไปกับแมดอฟฟ์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น[32][60]

ต่อมาบริษัทจึงถูกโจทว่า ขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ส่วนรายงานของ SEC ได้กล่าวถึงผลกำไรที่ได้ "อย่างสม่ำเสมอที่แปลกประหลาด" ที่ให้กับผู้ลงทุนในอัตรา 13.5%-20% ต่อปี แต่ว่า SEC ไม่ได้ตรวจสอบอะไรเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น และไม่ได้เปิดเผยว่าผู้บริหารเงินทุนคือแมดอฟฟ์[18][32]บริษัทได้จ้างทนายที่เคยเป็นทนายของแมดอฟฟ์ และเคยเป็นหัวหน้าสำนักงานนิวยอร์กของ SEC ผู้ต่อรองตกลงให้บริษัทคืนเงินทั้งหมดให้กับนักลงทุน ปิดบริษัท เปิดให้ตรวจบัญชี และจ่ายค่าปรับ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,894,000 บาท)แต่ว่า แมดอฟฟ์อ้างว่า เขาไม่รู้ว่าบริษัทกำลังดำเนินงานอย่างผิดกฎหมาย และผลกำไรที่ได้ในกองทุนของเขาก็เป็นไปตามผลกำไรที่ได้ตามดัชนี S&P 500[32]การสืบสวนของ SEC เกิดขึ้นในตอนกลางสมัยที่สอง (จากสามสมัย) ที่แมดอฟฟ์เป็นประธานบริหารตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ[60]

ในการสืบสวน เงินลงทุนได้ขยายเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยการบอกต่อของลูกค้า โดยมีผู้ลงทุนถึง 3,200 คนเป็นบัญชี 9 บัญชีกับแมดอฟฟ์และเจ้าหน้าที่ควบคุมก็กลัวว่าทั้งหมดนี้อาจจะเป็นเรื่องหลอกลวง โดยมีหัวหน้าเขตนิวยอรก์ของ SEC ได้กล่าวไว้ว่า"เราเริ่มดำเนินงานในเรื่องนี้คิดว่านี่อาจจะเป็นเรื่องฉิบหายใหญ่เพราะว่าบริษัทรับเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐจากนักลงทุน ซึ่งอยู่นอกเหนือระบบที่เราสามารถตรวจสอบและควบคุมได้นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก"[18]

บริษัทได้ฝากเงิน 454 ล้านเหรียญของนักลงทุนกับแมดอฟฟ์ และแม้แต่เจ้าของบริษัทคนหนึ่งก็ยังคงฝากเงินของตนไว้กับแมดอฟฟ์จนถึงปี 2550ในการสัมภาษณ์ปี 2552 เจ้าของคนนี้กล่าวว่า "สงสัยเบอร์นี่ แมดอฟฟ์ สงสัยเบอร์นี่ ? ไม่มีทางคุณสงสัยพระเจ้าคุณอาจจะสงสัยพระเจ้า แต่คุณจะไม่สงสัยเบอร์นี่เขามีรังสีเช่นนั้น"[60]

บริษัท BLMIS ในปี 2542, 2543, 2547, 2548, และ 2549

SEC สืบสวนแมดอฟฟ์ในปี 2542 และ 2543 ว่า บริษัทซ่อนคำสั่งของลูกค้าจากผู้ค้าขายหุ้นคนอื่น ๆ ซึ่งแมดอฟฟ์ก็ได้แก้ไข[59]ในปี 2544 เจ้าหน้าที่ SEC คนหนึ่งคุยกับนายแฮร์รี่ มาโกโปโลสที่สำนักงานในเมืองบอสตันเพื่อเช็คการโจทว่าแมดอฟฟ์กำลังทำการฉ้อฉล[59]SEC ได้อ้างว่า สำนักงานได้สืบสวนข้อสงสัยอื่นอีกสองเรื่องเกี่ยวกับแมดอฟฟ์ในหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้พบการละเมิดกฎหมายหรืออะไรสำคัญที่น่าเป็นห่วง[61]

ในปี 2547 หลังจากที่มีบทความหนังสือพิมพ์โจทบริษัทว่าดำเนินการซื้อขายหุ้นเพื่อประโยชน์ของตนก่อนดำเนินการตามคำสั่งลูกค้า (front running) สำนักงาน SEC ในวอชิงตัน ดี.ซี. ก็ได้ยกเลิกงานสอบสวนที่เริ่มก่อนหน้านี้[59]SEC ยังแจ้งว่าผู้ตรวจสอบได้ตรวจดูแผนกนายหน้าขายหุ้นของบริษัทในปี 2548 อีกด้วย[59]โดยเช็คการละเมิดกฎหมายในสามกรณีคือ (1) กลยุทธ์การปฏิบัติการต่อบัญชีลูกค้า (2) ข้อบังคับว่า นายหน้าต้องหาราคาที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า (3) ปฏิบัติการเป็นผู้ให้คำแนะนำทางการเงินโดยไม่ได้ลงทะเบียน คือ แม้ว่า บริษัทจะลงทะเบียนว่าเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น แต่ก็ทำธุรกิจเป็นผู้บริหารหลักทรัพย์ด้วย[62]"เจ้าหน้าที่ไม่พบหลักฐานการฉ้อฉลใด ๆ" และในเดือนกันยายน 2548 แมดอฟฟ์ก็ตกลงที่จะลงทะเบียนธุรกิจ แต่ SEC ได้เก็บสิ่งที่ได้พบไว้ไม่ได้เปิดให้เป็นสาธารณะ[59]

ในปี 2552 เมื่อนายแฮร์รี่ มาโกโปโลส ให้การต่อหน้าคณะกรรมการย่อยว่าด้วยการบริการทางการเงินเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เขาได้กล่าวว่า หัวหน้าสำนักงานประจำนิวยอร์กได้ทำงานผิดพลาดในปี 2548[13][63][59][62][64]โดยต่อมาในปี 2550 เจ้าหน้าที่ SEC ได้สำเร็จการสืบสวนที่เริ่มเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 เกี่ยวกับข้อหาว่าเป็นธุรกิจพอนซี่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้พบการฉ้อฉล และไม่ได้ส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ SEC เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย[65][66]

การตรวจสอบของ FINRA

ในปี 2550 องค์การควบคุมอุตสาหกรรมการเงิน (Financial Industry Regulatory Authority ตัวย่อ FINRA) ซึ่งเป็นกลุ่มจับตามองบริษัทนายหน้าขายหุ้น ได้รายงานแบบไม่มีรายละเอียดว่า ธุรกิจบางส่วนของแมดอฟฟ์ไม่มีลูกค้าหลังจากที่ได้จับกุมแมดอฟฟ์ เจ้าหน้าที่ของ SEC รายงานว่า "ในตอนนี้ เรายังไม่แน่ใจถึงมูลฐานข้อสรุปของ FINRA"[59]โดยเป็นผลของการฉ้อฉล ประธานของ SEC ต่อมาได้แจ้งว่า จะมีการสืบสวนที่ตรวจสอบ "การติดต่อและความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับตระกูลและบริษัทของแมดอฟฟ์ และผลที่เกิดขึ้น ถ้ามี ต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่"[67]อดีตเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายของ SEC คนหนึ่ง คือ นายอีริค สวอนสัน ได้แต่งงานกับหลานสาวของแมดอฟฟ์ ซึ่งก็เป็นทนายฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายด้วย[67]

สัญญาณเตือน

นักวิเคราะห์นอกสถาบันได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับบริษัทของแมดอฟฟ์เป็นเวลาหลายปีแล้ว[9]ครั้งแรกที่สำคัญเกิดขึ้นในปี 2543 เมื่อนายแฮร์รี่ มาโกโปโลส ผู้เป็นนักวิเคราะห์การเงินและผู้จัดการดูแลบัญชีหลักทรัพย์ที่บริษัทบริหารหลักทรัพย์อีกแห่งหนึ่ง คือ Rampart Investment Management ได้แจ้ง SEC ถึงความสงสัยของตนคือ เมื่อปีก่อนหน้านั้น บริษัทได้พบว่า บริษัทการเงินซึ่งเป็นลูกค้าของตนบริษัทหนึ่ง ได้ลงทุนเป็นวงเงินสำคัญกับแมดอฟฟ์เจ้านายของนายมาโกโปโลสจึงสั่งให้เขาออกแบบบริการที่สามารถได้ผลกำไรเหมือนกับของแมดอฟฟ์[68]แต่ว่า นายมาโกโปโลสสรุปได้เกือบทันทีว่า ตัวเลขของแมดอฟฟ์เป็นไปไม่ได้และหลังจากที่พยายามและไม่สามารถเลียนแบบผลกำไรของแมดอฟฟ์โดยใช้ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ในอดีต นายมาโกโปโลสจึงสรุปว่า นี่เป็นการฉ้อฉล

เขาได้แจ้ง SEC โดยมีมูลฐานที่งานวิเคราะห์ผลกำไรของแมดอฟฟ์ของตนว่า เป็นไปไม่ได้ที่แมดอฟฟ์จะให้ผลกำไรที่ว่าตามกลยุทธ์ที่แมดอฟฟ์อ้างว่าตนใช้ตามความคิดของนายมาโกโปโลส จะสามารถอธิบายผลกำไรที่ได้โดยสองวิธีเท่านั้น ซึ่งก็คือ แมดอฟฟ์ซื้อขายหุ้นในทุนของตนก่อนดำเนินการซื้อขายหุ้นตามคำสั่งลูกค้าในฐานเป็นนายหน้า (front running) หรือว่า ธุรกิจบริหารหลักทรัพย์เป็นการฉ้อฉลแบบพอนซี่ขนาดยักษ์แต่ว่า สิ่งที่แจ้งต่อ SEC รวมทั้งการแจ้งต่อมาอีก 3 ครั้ง ไม่ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาใด ๆ จาก SEC[69][70]ในช่วงที่นายมาโกโปโลสแจ้ง SEC เป็นครั้งแรก แมดอฟฟ์บริหารหลักทรัพย์เพียงประมาณ 3-6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 120,552 - 241,105 ล้านบาท) ซึ่งแม้แต่ในตอนนั้นก็เป็นกองทุนบริหารความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่แล้ว

งานวิเคราะห์ที่มีรายละเอียดมากที่สุดของนายมาโกโปโลสเป็นการแจ้งต่อ SEC เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเขียนเป็นบันทึกมี 17 หน้าโดยมีหัวเรื่องว่า "กองทุนบริหารความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นการฉ้อฉล (The World's Largest Hedge Fund is a Fraud)"[71]เขายังได้คุยกับหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal เกี่ยวกับธุรกิจพอนซี่ในปี 2549 แต่บรรณาธิกากลับตัดสินใจไม่ติดตามเรื่อง[72]

บันทึกแสดงสิ่งที่ผิดสังเกต 30 รายการตลอด 174 เดือน (ประมาณ 14 ปี) ของการซื้อขายหลักทรัพย์ของแมดอฟฟ์และสิ่งที่ผิดสังเกตมากที่สุดก็คือ แมดอฟฟ์แสดงรายการขาดทุนเพียงแค่ 7 เดือนใน 14 ปีเหล่านี้ และการขาดทุนแทบไม่มีความสำคัญทางสถิติซ่งเป็นการได้ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นแบบเกือบเป็นเส้นตรงนายมาโกโปโลสชี้ว่า ตลาดไม่มีความแน่นอนจนกระทั่งว่า การได้ผลเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เมื่อนายมาโกโปโลสให้ความต่อหน้ารัฐสภา เขากล่าวว่านี้เหมือนกับนักกีฬาเบสบอลที่มีสถิติการตี .966 ในปีนั้น "แต่ไม่มีใครสงสัยว่าโกง"[73]

ส่วนหนึ่งของบันทึกสรุปว่า "เบอร์นี่ แมดอฟฟ์ เป็นผู้บริหารกองทุนบริหารความเสี่ยงที่ไม่ลงทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเขาจัดตั้งธุรกิจโดยเป็นกองทุนของกองทุน และให้บริษัทอื่น ๆ ติดป้ายว่าเป็นกองทุนของตนเอง แต่ตัวเบอร์นี่เป็นคนบริหารอย่างลับ ๆ โดยใช้กลยุทธ์ split-strike conversion และได้รายได้เพียงแต่ค่านายหน้าซื้อขายในอัตราที่เก็บเป็นความลับถ้านี่ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงการควบคุมทางกฎหมาย ผมก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเป็น"นายมาโกโปโลสได้ประกาศว่า การบริหารจัดการทรัพย์ที่ไม่ซับซ้อนของแมดอฟฟ์ ถ้าไม่เป็นธุรกิจพอนซี่ก็เป็นการซื้อขายหุ้นในทุนของตนก่อนดำเนินการซื้อขายให้ลูกค้าอื่น ๆ (front running)[73]แล้วสรุปว่า น่าจะเป็นการฉ้อฉลแบบพอนซี่[59]

ในปี 2544 นักข่าวการเงินผู้หนึ่งเขียนบทความให้หนังสือพิมพ์ Barron's มีหัวเรื่องว่า "ไม่ถาม ไม่ต้องบอก"[35]ซึ่งตั้งข้อสงสัยในความลึกลับของแมดอฟฟ์ และว่าเขาสามารถได้ผลกำไรที่สม่ำเสมอเช่นนี้ได้อย่างไรเธอรายงานว่า "ผู้ลงทุนกับแมดอฟฟ์ได้แต่พูดเพ้อกับผลงานของเขา แม้ว่า จะไม่เข้าใจว่าเขาทำได้อย่างไร โดยมีผู้ลงทุนทีพึงพอใจอย่างยิ่งบอกหนังสือพิมพ์ว่า 'แม้แต่คนที่รู้ดีที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเขาทำอะไร'"[35]ทั้งบทความของ Barron's และจดหมายข่าว MarHedge แสดงนัยว่า แมดอฟฟ์ต้องซื้อขายหุ้นของทุนตนเองก่อนดำเนินการซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของลูกค้าทั่วไปเพื่อที่จะได้ผลกำไรเช่นนี้[59]

กองทุนที่ลงทุนกับเขาไม่ได้รับอนุญาตให้บอกว่าเขาเป็นคนบริหารทรัพย์ให้กองทุนในใบโฆษณาเมื่อมีนักลงทุนใหญ่สนใจจะลงทุนกับเขา แต่ต้องตรวจสอบบันทึกเพื่อสร้างความมั่นใจ เขาก็จะปฏิเสธแล้วกล่าวว่าเขาต้องการเก็บกลยุทธ์โดยเฉพาะของเขาให้เป็นความลับ[74]และโดยการขายหุ้นที่มีอยู่แล้วเก็บเป็นเงินสดในช่วงท้ายของระยะการรายงาน แมดอฟฟ์จึงไม่ต้องส่งรายการหลักทรัพย์ที่มีให้กับ SEC ซึ่งเป็นวิธีการที่แปลกแมดอฟฟ์ปฏิเสธคำขอให้บุคคลภายนอกตรวจสอบโดยอ้างเหตุแห่งความลับ และว่านี่เป็นหน้าที่โดยตรงของน้องชายของเขาคือ ปีเตอร์ ซึ่งเป็นกรรมการฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมาย[75]

นายมาโกโปโลสภายหลังให้การต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาว่า เพื่อที่จะให้ผลกำไร 12% แก่ลูกค้า แมดอฟฟ์ต้องได้ผลกำไร 16% เพื่อที่จะให้ค่าธรรมเนียม 4% ต่อผู้บริหารทุนที่ส่งทุนต่อให้แมดอฟฟ์ โดยผู้บริหารทุนจะเป็นผู้หาเหยื่อรายใหม่ ๆ และจะ "ทำเป็นมองไม่เห็นอะไร ไม่ซักไซ้อะไรมากเกินไป"[64]นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความสงสัยเกี่ยวกับบริษัทตรวจบัญชีของแมดอฟฟ์ ซึ่งเป็นบริษัทมีพนักงาน 2 คน และมีผู้ตรวจบัญชีเพียงแค่คนเดียวคือนายเดวิด ฟรีลิง ซึ่งก็เป็นเพื่อนใกล้ชิดของครอบครัวแมดอฟฟ์ นอกจากนั้นแล้ว นายฟรีลิงยังเป็นผู้ลงทุนในกองทุนของแมดอฟฟ์ ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์แบบโต้ง ๆ[70]:366-367ในปี 2550 บริษัทให้คำปรึกษา Aksia LLC แนะนำลูกค้าไม่ให้ลงทุนกับแมดอฟฟ์ โดยกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่บริษัทเล็ก ๆ จะสามารถให้บริการต่อบริษัทขนาดยักษ์เช่นของแมดอฟฟ์ได้[76][77]

โดยปกติแล้ว กองทุนบริหารความเสี่ยงจะเก็บหุ้นไว้ที่บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะเป็นธนาคารใหญ่หรือบริษัทนายหน้า ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อขายหลักให้กับกองทุน ทำให้บุคคลภายนอกสามารถตรวจสอบหลักทรัพย์ที่กองทุนเป็นเจ้าของอยู่จริง ๆ ได้แต่ว่า บริษัทของแมดอฟฟ์มีธุรกิจทั้งเป็นผู้บริหารกองทุนและเป็นนายหน้าซึ่งดำเนินการการซื้อขายได้เอง[34]และเป็นเรื่องแปลกอย่างน่าขันว่า แมดอฟฟ์ซึ่งเป็นคนบุกเบิกการค้าขายหุ้นแบบอิเล็กทรอนิกส์ กลับปฏิเสธที่จะให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบัญชีของตนออนไลน์ได้[9]คือเขาส่งรายงานการบัญชีให้ต่อลูกค้าทางไปรษณีย์[78]ซึ่งไม่เหมือนกับกองทุนบริหารความเสี่ยงโดยมากที่ส่งอีเมลล์ให้ลูกค้าดาวน์โหลดรายงานบัญชี เพื่อความสะดวกของลูกค้า[79]

ในปี 2546 ผู้ดำเนินการกองทุนบริหารความเสี่ยงของอีกบริษัทหนึ่งตั้งข้อสงสัยและเตือนเพื่อนร่วมงานไม่ให้ลงทุนกับแมดอฟฟ์ โดยสรุปว่า นักธุรกิจชั้นนำจะทำงานเพื่อส่วนแบ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเงินที่ได้ไปทำไม[80]

อีกประการหนึ่ง ในปี 2546 บริษัท Renaissance Technologies "ซึ่งอาจเป็นบริษัทกองทุนบริหารความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก" ได้ลดการลงทุนกับแมดอฟฟ์ลง 50% แล้วในที่สุดก็ถอนทุนโดยสิ้นเชิง เพราะสงสัยเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของผลที่ได้ เกี่ยวกับค่าบริหารทุนที่ต่ำมากเทียบกับทุนบริหารความเสี่ยงอื่น ๆ และความเป็นไปไม่ได้ของกลยุทธ์ที่แมดอฟฟ์อ้าง เพราะว่า จำนวนการค้าขายสัญญาอนาคต (option) ที่ปรากฏในตลาด ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเงินที่แมดอฟฟ์บริหารคือ จำนวนการค้าขายสัญญาแสดงว่า แมดอฟฟ์บริหารทุนประมาณ 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีการคำนวณว่าเขาบริหารทุนกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนี่จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อแมดอฟฟ์เป็นคนซื้อขายสัญญาที่สำเร็จราคาขายในช่วงราคาที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดทั้งหมดในตลาด[70]:363-371

มีผู้จัดตั้งบริษัทวิจัยกองทุนบริหารความเสี่ยงคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า แมดอฟฟ์ "มีเดือนที่ขาดทุนเพียงแค่ 5 เดือนตั้งแต่ปี 2539"[81]และว่า "คุณไม่สามารถที่จะดำเนินการเป็นเวลา 10 หรือ 15 ปีโดยมีเดือนขาดทุนเพียงแค่ 3-4 เดือน มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้"[82]

ในปี 2544 หัวหน้าบรรณาธิการของจดหมายข่าว MARHedge เขียนบทความที่เขาสัมภาษณ์ผู้ค้าขายหลักทรัพย์ที่ไม่เชื่อว่า แมดอฟฟ์ค้าขายได้กำไรเป็นเวลา 72 เดือนต่อ ๆ กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก[8]

แต่ลูกค้าระดับสถาบันเช่น Fairfield Greenwich Group (ซึ่งเป็นสถาบันที่ขาดทุนมากที่สุดจากการฉ้อฉล) และธนาคารเอกชน Union Bancaire Privée (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) อ้างว่า ตนสามารถได้รายละเอียดพิเศษเพื่อประเมินและวิเคราะห์รายได้รายจ่ายของกองทุนของแมดอฟฟ์แต่ก็ไม่ได้พบอะไรผิดปกติ[43]แม้แต่ธนาคารกลางของประเทศไอร์แลนด์ก็ล้มเหลวที่จะพบความผิดปกติของกองทุน เมื่อเขาได้เงินจากกองทุนของประเทศและต้องให้ข้อมูลเป็นจำนวนมากซึ่งควรเพียงพอที่จะให้เจ้าหน้าที่ค้นพบการฉ้อฉลเป็นเวลายาวนานก่อนหน้าที่แมดอฟฟ์จะถูกจับกุมในปลายปี 2551[83][84][85]

ใกล้เคียง

เรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืน เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ เรื่องพิศวง เด็กสาว และเทพลักซ่อน เรื่องฝันปั่นป่วยของผม เรื่องจริงหลังไมค์ของคู่หูยัยนักพากย์ เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560 เรื่องราวอีเหละเขะขะของแม่ลูกแม่มด เรื่องตลก 69 เรื่องเล่าการทรงสร้างในปฐมกาล

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ http://www.theaustralian.news.com.au/business/stor... http://business.smh.com.au/business/madoffs-assets... http://www.cbc.ca/money/story/2009/06/29/madoff-po... http://www.1010wins.com/pages/3547010.php http://news.aol.com/article/did-bernard-madoff-act... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601039&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si...